สั่งซื้อ ไพ่คลิมต์ ปั๊มฟอยล์ทองวิ้งๆ✨(ราคา 886 บาท ส่งฟรีจากต่างประเทศ)
ความเป็นมาคร่าวๆ ของ Golden Tarot of Klimt
สำรับไพ่ทาโรท์ชุดนี้ได้มาซักพักแล้วครับ สีสันพร้อมเส้นสายเคลือบทองสวยงาม เป็นสำรับไพ่ทาโรท์ที่ผลิตโดยค่าย Lo Scarabeo ไพ่ชุดนี้ถูกสร้างสรรค์โดย Atanas Alexandrov Atanassov หนึ่งในศิลปินประจำของสำนักพิมพ์ดังกล่าว ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะของ "กุสตาฟ คลิมต์" (Gustav Klimt)Gustav Klimt เป็นศิลปินชาวออสเตรียชื่อดัง (ช่วงปี ค.ศ. 1862 – 1918 รวมอายุได้ 55 ปี) ผู้ซึ่งนิยมสอดแทรกเรื่องราวของความหมายแฝงอยู่ภายในองค์ประกอบรูป ที่ไม่ใช่เพียงการวางสัญลักษณ์ที่ทราบความหมายกันทั่วไปโดยตรงอย่างเห็นได้ชัดในรูป (Iconography) แต่รวมถึงการจัดวางวัตถุหรือท่าทางของบุคคล ตลอดจนถึงตำนานอันรวมถึงบุคลิกภาพนิสัยใจคอของบุคคลในตำนานที่แฝงมาในรูปด้วยเช่นกัน มีศัพท์เฉพาะเรียกงานศิลปะในแนวนี้ว่า "สัญลักษณ์นิยม" (Symbolism) ส่วนลักษณะเส้นสายและลวดลายของภาพโดยคลิมต์นั้นยังอาจจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าอาร์ตนูโว (Art Nouveau) หรือศัพท์ไทยสวยๆว่า "นวศิลป์" (เพื่อให้เห็นภาพ ลองเปรียบเทียบกับภาพแนวนวศิลป์นี้ ได้ในรีวิวไพ่ยิปซีเลอนอร์มองด์ Art Nouveau Oracle
สำรับนี้ครับ)
Gustav Klimt (1862-1918) |
และจุดนี้นั้นก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หน้าตาไพ่ชุดนี้ค่อนข้างอ่านได้ยาก สำหรับนักพยากรณ์หลายท่านทั้งมือเก่าและมือใหม่ เพราะแม้ว่าสำรับไพ่ทาโรต์ชุดนี้จะอิงตามความหมายไพ่ไรเดอร์เวท (เพียงแต่ต่างกันนิดตรงที่จะสลับลำดับระหว่าง Justice กับ Strength ให้เป็นระบบไพ่แบบดั้งเดิมเท่านั้นครับ) แต่ทว่าองค์ประกอบภาพบนหน้าไพ่กลับไม่เหมือนและแทบจะคนละเรื่องกับไพ่ทาโรท์ชุดไรเดอร์เวทเลยด้วยซ้ำครับ และแน่นอนว่าไม่ได้อิงตามไพ่ทาโรท์ธ็อธหรือมาร์เซย์ด้วยเช่นกัน และอีกประเด็นหนึ่งคือภาพหน้าไพ่ไม่ได้ถูกสร้างสรรค์ออกแบบมาเพื่อสำรับไพ่ทาโรต์โดยตรง ดังนั้นหากเราสามารถทราบที่มาที่ไปหรือความหมายภาพต่างๆของคลิมต์แล้วย่อมมีแนวโน้มที่จะช่วยให้การอ่านไพ่ทาโรต์ชุดนี้เป็นไปได้ง่ายขึ้นครับ ไว้เดี๋ยวงวดหน้าเราจะลองมาเจาะประวัติความเป็นมาของไพ่บางใบในไพ่ทาโรต์ Golden Tarot of Klimt ชุดนี้กันนะครับ ;)
เพิ่มเติม: บทความ เจาะลึกรายละเอียดประวัติหน้าไพ่ทาโรต์ และแนวทางการอ่านไพ่ทาโรต์ The Magician จากสำรับไพ่ชุด Golden Tarot of Klimt และต่อด้วยความหมายไพ่ The Chariot และ Judgement จาก Golden Tarot of Klimt
Golden Tarot of Klimt: คู่มือประจำสำรับไพ่ทาโรต์ สัดส่วนไพ่ และคุณลักษณะอื่นๆ
- ไพ่ทาโรต์ Golden Tarot of Klimt ชุดนี้ออกวางจำหน่ายอยู่สองรูปแบบด้วยกัน คือ ชุดปกติที่นำมารีวิวในบทความนี้ (ISBN 8883954599) และชุดพิเศษ (Deluxe Edition; ISBN 0738710113) ที่จะมีแถมถุงผ้ากำมะหยี่พิมพ์ลายสไตล์ภาพ Klimt เพิ่มไว้ด้วย หมายเหตุ: ภาพที่แสดงในหลายเว็บไซท์นั้นขอบไพ่จะเป็นสีขาว แต่สำรับไพ่จริงนั้นขอบไพ่จะเป็นสีดำนะครับ ส่วนลิงค์จากอะมาซอนด้านล่างนี้เป็นแบบชุดปกตินะครับ
- สิ่งที่มีมาในกล่องไพ่ทาโรต์ Golden Tarot of Klimt ชุดปกติ
- สำรับไพ่ทาโรต์หนึ่งชุดจำนวน 78 ใบ บวกไพ่ปิดหน้าหลังเพิ่มอีก 2 ใบ ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นไพ่โฆษณาสำรับอื่นๆของสำนักพิมพ์ Lo Scarabeo -_-"
- คู่มือเล่มเล็กเย็บสันด้วยลวดเย็บ Little White Book (LWB) ความหนา 64 หน้า ประกอบด้วย 5 ภาษาตามสไตล์สำนักพิมพ์ Lo Scarabeo ครับ ..ดังนั้นเฉพาะส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษจะมีเพียงแค่ 14 หน้าครับ โดยเนื้อหาภายในแต่ละใบก็ตามสไตล์สำนักพิมพ์นี้เช่นกัน -_-" ที่จะมีเพียงแค่คำสำคัญ (Keywords) ทั้งแบบหน้าตรงและแบบกลับหัว และมีตัวอย่างการวางไพ่เพียงหนึ่งแบบโดยใช้ไพ่ 12 ใบ
- ขนาดสัดส่วนไพ่ มีความกว้างและความยาวหน้าไพ่ 6.6 และ 12.0 เซนติเมตรตามลำดับ ส่วนความหนาทั้งสำรับ 78 ใบ นั้นจะประมาณ 2.4 เซนติเมตร
- การสับไพ่ คลี่ไพ่ และกรีดไพ่ และตามสไตล์ไพ่ทาโรต์จากสำนักพิมพ์ Lo Scarabeo เช่นกัน เวลาจับสำรับจะรู้สึกน้ำหนักเบาๆ ไพ่ออกแนวบางๆ แต่ข้อดีคือสับไพ่ได้ง่าย กรีดได้ง่าย และแม้ว่าจะเป็นไพ่เคลือบทองแต่ก็ไม่มีไฟฟ้าสถิตย์อะไรให้ไพ่ติดกันขณะคลี่ไพ่ครับ
- ตัวเลขและภาษาบนหน้าไพ่ ไพ่ทาโรต์ชุดเมเจอร์ (Major Tarot Cards) จะแสดงลำดับไพ่โดยใช้ตัวเลขโรมัน ส่วนไพ่ทาโรต์ชุดไมเนอร์ (Minor Tarot Cards) แสดงลำดับไพ่โดยใช้ตัวเลขอารบิค และตามสไตล์ไพ่ของสำนักพิมพ์ Lo Scarabeo ไพ่แต่ละใบจะประกอบด้วย 6 ภาษาด้วยกัน ด้านบนทางซ้าย(ของผู้อ่าน)คืออังกฤษและสเปน ทางบนขวาคืออิตาเลียนและฝรั่งเศส มุมล่างซ้าย(ของผู้อ่าน)คือเยอรมัน และมุมล่างขวาคือดัทช์ ... โดยตัวเลขทั้งอารบิคและโรมันในไพ่ไมเนอร์และไพ่เมเจอร์จะถูกพิมพ์ด้วยลายทอง ส่วนตัวอักษรจะพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์สีน้ำตาลทองครับ
- ข้อแตกต่างจากไพ่ทาโรต์ชุดมาตรฐานไรเดอร์เวทปกติ (Rider-Waite Tarot)
- นอกจากเรื่องของการสลับลำดับ Justice และ Strength ให้เป็นตำแหน่งดั้งเดิม (VIII และ XI)
- จะมีปรับเปลี่ยนชื่อเรียกชุดไพ่เล็กน้อยคือชุดถ้วย Cups เปลี่ยนเป็น Chalices
- ไพ่ Court Cards กลุ่ม Page เปลี่ยนเป็น Knave
- และไพ่เมเจอร์ The Wheel of Fortune ตัดชื่อเรียกเหลือแค่ The Wheel ส่วนไพ่เมเจอร์อื่นๆ ที่เหลือยังคงเรียกชื่อแบบเดิมครับ
หน้าไพ่เคลือบทองสวยงาม พร้อมคู่มือ บรรจุภายในกล่องเคลือบทองเช่นกัน (คลิกที่รูปเพื่อขยาย) |
สัดส่วนไพ่ทาโรต์ Golden Tarot of Klimt ด้านหน้าและด้านหลังไพ่(ด้านหลังไพ่ไม่ได้เคลือบทองนะครับ) |
ข้อเด่นของ Golden Tarot of Klimt
นอกจากความสวยงามกับงานภาพสไตล์ Klimt แล้ว ยังรวมถึงการเคลือบทองแบบเป็นประกายสะท้อนแสงจริงๆ ไม่ใช่แค่เป็นสีน้ำตาลออกทองๆ ซึ่งลักษณะการเคลือบทองนี้สามารถเห็นได้ตั้งแต่กล่องบรรจุภัณฑ์ภายนอก แถมดูท่าทางพอจะติดได้ทนทานในระดับหนึ่งครับ ไม่ถึงขั้นลอกหลุดง่าย แต่เวลาใช้ก็สมควรระวังนิ๊ดดดนึงก็ดีครับมุมกล้องเปรียบเทียบแสงสะท้อนบนแผ่นทองเคลือบหน้าไพ่ |
ตัวอย่างไพ่ทาโรต์เมเจอร์บางใบ จาก Golden Tarot of Klimt (คลิกที่รูปเพื่อขยาย) |
ข้อด้อยของไพ่ทาโรต์ Golden Tarot of Klimt
- กรอบภาพไพ่ทาโรต์ ทั้งกรอบด้านหน้าและหลังไพ่จะเป็นสีดำ ซึ่งแม้ว่าจะทำให้ภาพหน้าไพ่และสีทองดูเด่นขึ้นมากๆ แต่ทว่าด้วยคุณภาพไพ่แบบ Lo Scarabeo ทำให้เมื่อใช้ไปได้ซักพักจะเริ่มเห็นการหลุดลอกถลอกเป็นตำหนิขาวๆตามขอบ แม้จะใช้อย่างระมัดระวังก็ตาม (ลองคลิกขยายที่รูปด้านบน แล้วสังเกตที่ขอบไพ่น่าจะพอเห็นร่องรอยบ้างนะครับ) ...พูดง่ายๆ คือ ขอบไพ่สีดำนี้ถลอกเร็วกว่าทองที่เคลือบหน้าไพ่ซะอีกครับ ~~>_< (หมายเหตุ ตัวอย่างไพ่ทาโรท์ชุด Liber-T โดยสำนักพิมพ์ Lo Scarabeo ที่เคยแสดงเปรียบเทียบกับไพ่ออราเคิลชุดจุดเทียน ด้วยคุณภาพกระดาษและการเคลือบไพ่ ทำให้พื้นผิวขอบไพ่สีน้ำเงินเข้มก็จะถลอกง่ายเช่นเดียวกัน)
- ภาพศิลปะสไตล์ Klimt นั้นแม้ว่าจะสวยงาม แต่ภาพดังกล่าวดูจะมีเนื้อหาภาพที่ค่อนข้างแรงทั้งเนื้อหาและการนำเสนอ จนถึงขั้นเป็นประเด็นโต้เถียงกันในหลากหลายวงการในช่วงยุคดังกล่าว ทำให้ภาพส่วนใหญ่ในหน้าไพ่ชุด Golden Tarot of Klimt นี้ ดูจะไม่เหมาะสมสำหรับเด็กๆและเยาวชนเท่าไหร่นัก แม้ว่าหน้าไพ่ทาโรต์ดังกล่าวจะมีการปรับเปลี่ยนจากภาพจริงบางส่วนแล้วก็ตาม
โปรดสังเกตลวดลายทองบน หน้าไพ่ชุดเหรียญ Pentacles ที่ไม่ซ้ำกันเลย.. สวยงามมั้ยครับ ^_^ |
กับผลสัมภาษณ์ไพ่ทาโรต์ชุดนี้ คงไม่ต้องบอกว่าส่วนตัวแล้วปลื้มแค่ไหนนะครับ ;) (คลิกเพื่ออ่าน ตัวอย่างการเรียงไพ่และอ่านสัมภาษณ์ไพ่) |
ก็จบกันไปกับ Review สำรับไพ่ทาโรต์ชุด Golden Tarot of Klimt นี้ เป็นยังไงบ้างครับ ชอบกันบ้างมั้ยเอ่ย?
เพิ่มเติม: อ่านบทความเจาะลึกรายละเอียดประวัติหน้าไพ่ทาโรต์ และแนวทางการอ่านไพ่ทาโรต์ The Magician, The Chariot และ Judgement จากสำรับไพ่ชุด Golden Tarot of Klimt นี้ได้ตามสองลิงค์นี้ครับ
- บทความไพ่ช่วงแรก ความหมายไพ่ The Magician Golden Tarot of Klimt และ
- บทความช่วงที่สอง ความหมายสัญลักษณ์ไพ่ The Magician, Chariot และ Judgement
12 ความเห็น:
ภาพสวยมากแต่ แหม้ๆๆๆๆๆๆ ติดอยู่ตรงดูดวงที่ใบไม้นี่แหละค่ะ ตั้งใจไว้เต็มที่...ให้กรอกเบอร์มือถือ เพื่อชำระเงินซะง๊านนนนน :P
เอ.. หมายถึงเว็บไซท์โฆษณาที่สุ่มมาจากโฆษณาโดยกูเกิ้ลรึเปล่าครับ อันนี้คงต้องแล้วแต่ทางกูเกิ้ลจัดสรรมาน่ะครับ .. แต่หากจะดูดวงฟรีจากเว็บนอกนั้นมีหลายเว็บมากครับ แถมสามารถเลือกสำรับไพ่ที่จะใช้ได้เองด้วยครับ เท่าที่ลองค้นมาเช่น
http://www.llewellyn.com/tarot_reading.php
http://www.facade.com/tarot/
http://www.mydivination.com/tab_readings.mdv
และยังมีเว็บอื่นๆอีกหลายเว็บครับ
ขอบคุณนะคะ แบบไม่มีแบบ ใบไม้ๆเหรอคะ แปลกดี 55555+ ^_*
เอาอีกแล้วๆๆๆๆๆๆ คุณ HE >_< นี่ผมกำลังจะตัดใจจากชุดนี้อยู่นะครับเนี่ย เลย.........ก็นะ อิอิ
ตอบคุณ Dear ใบไม้แบบเว็บนี้รึเปล่าครับ
http://www.horajarn.com/leaf/lt.htm
เพราะผมเองก็ไม่ได้เห็นเหมือนกัน เนื่องจากโฆษณาจะสุ่มไปเรื่อยๆน่ะครับ ส่วนถ้าวิธีการทำนายแปลกๆนี่ กะไว้ว่างวดหน้าจะนำเสนอบทความเก่าเรียบเรียงใหม่อีกอันครับ
ตอบคุณ Peterito
ตอนนี้ตัดใจไว้ก่อนก็ได้นะครับ เดี๋ยวไว้รอติดตามอ่านรายละเอียดความเป็นมาไพ่บางใบของสำรับไพ่ทาโรต์ Golden Tarot of Klimt ชุดนี้ เผื่อช่วยในการตัดสินใจอีกทีครับ ;)
>.<
กำลังเล็ง ๆ ไพ่ชุดนี้อยู่ค่ะ จะสอยมาหลายหนแล้ว เพราะสวย แต่พิศไปพิศมา ท่าทางเอามาก็คงเก็บไว้ในตู้เป็นของสะสมมากกว่า
เดี๋ยวขออ่านบทความต่อไปดีกว่า แล้วค่อยตัดสินใจอีกที ....
บทความต่อเนื่องของสำรับไพ่ Klimt ได้ลงลิงค์ไว้ในช่วงท้ายของบทความนี้แล้วครับ โดยเน้นไปที่ ไพ่ The Magician เป็นหลัก และมี ไพ่ Chariot กับ Judgement ที่เกี่ยวข้องกันเข้ามาร่วมด้วยครับ ;)
อ่านเีรียบร้อยแล้วค่ะ
พอมานั่งดูหน้าำไพ่เปรียบเทียบกับ Golden Botticelli Tarot คล้ายกันมาก อย่างกับเป็นชุดเดียวกัน พอดูรายละเอียดแล้วถึงบางอ้อเลย .... ^_^
วันนี้ต้องขอตัวไปปฏิับัติหน้าที่ชาวพุทธที่ก่อนค่ะ แล้วจะมาอ่านบทความอื่น ๆ ต่อค่ะ
ขอบคุณค่ะสำหรับบทความดี ๆ
ส่วนตัวผมชอบการลงลายทองของไพ่ทาโรต์ Klimt มากกว่าของ Botticelli ที่สำรับนั้นเน้นฉากด้านหลังเป็นส่วนใหญ่ แต่ของ Klimt จะเล่นกับลวดลายรูปภาพหน้าไพ่แต่ละใบไปเลย เช่น ภาพ Danaë ในไพ่ The Moon ที่ไล่ทองกันแทบจะทุกสะเก็ดดาว ทุกวงพระจันทร์ เป็นต้น
และที่ชอบมากคือ ในชุดเหรียญ ตัวเหรียญก็จะเคลือบทองด้วย แถมลวดลายในแต่ละเหรียญไม่ซ้ำกันอีกต่างหากครับ ยกตัวอย่างเช่น รูปไพ่ 10 เหรียญที่ยกมาในบทความครับ ;)
กรอบดำสวยกว่าขาวนะครับ คุณ He ทราบไหมครับว่า กรอบดำ ISBN อะไรเหรอครับ ขอบคุณครับ
ไพ่ทาโรต์คลิมต์ ไม่มีกรอบสีขาวครับ ผลิตแต่รุ่นกรอบสีดำพิมพ์ทองเท่านั้นครับ
..แต่ภาพตามในลิงค์ของอะมาซอนที่เห็นสีขาวนั้น เป็นรูปต้นแบบ ก่อนการตีพิมพ์จริงเฉยๆ ครับ ..หากคลิกสั่งมา ก็จะเป็นไพ่กรอบสีดำพิมพ์ทองอยู่ดี .. ดังนั้นคลิกสั่งได้เลยครับผม :)
(กรณีรูปไม่ตรงตามผลิตภัณฑ์สุดท้าย ค่อนข้างพบบ่อย ต้องตรวจสอบกันให้ดีครับ) ;)
แสดงความคิดเห็น
1. โปรดระบุ "ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น" (กรณีไม่มีโปรไฟล์อื่น) ในเว็บ ดร.เซ่ ไพ่พยากรณ์ ด้วยการ
- เลือกโปรไฟล์ "ชื่อ/URL"
- กรอกชื่อหรือนามแฝงของผู้โพสต์ในช่อง "ชื่อ"
- กดปุ่ม "ดำเนินการต่อ" โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ระบุ URL เว็บไซต์ใดๆ
- ทั้งนี้เพียงเพื่อความสะดวกในการสนทนาเท่านั้น เช่น อาจระบุ นาย A, นาย B หรือ น.ส. ยิปซี ก็ได้ครับ :)
2. หากติดระบบกรองคำ โปรดกรอกข้อความ ให้ตรงตามคำกรองที่ปรากฏ
3. ความเห็นอาจไม่แสดงทันที เนื่องจากระบบป้องกันสแปมอัตโนมัติของบล็อกสปอต
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น