![]() |
Harry Potter เรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดแฮร์รี่พอตเตอร์ ประพันธ์โดย เจ.เค.โรวลิ่ง |
บทความที่เกี่ยวข้องในบล็อก ดร.เซ่ ไพ่พยากรณ์
- แอตแลนติส (Atlantis) ร้านหนังสือศาสตร์เร้นลับและพยากรณ์ ในกรุงลอนดอน ที่ผมเคยพาไปเที่ยวชมกันในคราวก่อน
พ่อมดน้อยแฮร์รี่พอตเตอร์ (Harry Potter)
Harry Potter ชื่อนี้คงแทบไม่มีท่านใดไม่รู้จัก กับซีรี่ส์นิยายแฟนตาซีอันโด่งดัง เรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดน้อยชาวอังกฤษนามว่าแฮร์รี่พอตเตอร์ แห่งโรงเรียนเวทมนตร์ฮอกวอร์ตส์ (Hogwarts) ประพันธ์โดย เจ.เค.โรวลิ่ง (J.K. Rowling) นักเขียนชาวอังกฤษ ผู้เปิดประตูแห่งจินตนาการสู่โลกของเหล่าพ่อมดแม่มด สร้างกระแสความตื่นตัวในศาสตร์เวทมนตร์ แก่เด็กและผู้ใหญ่ทั่วโลก โดยหนังสือถูกพิมพ์จำหน่ายติดต่อกันจำนวน 7 เล่ม ในช่วงระยะเวลาสิบปี และจำหน่ายทั่วโลกไม่น้อยกว่า 4 ร้อยล้านเล่ม แถมยังถูกสร้างเป็นภาพยนตร์จอเงินถึง 8 ตอน พร้อมด้วยรายได้ที่ไม่น้อยหน้ากันแน่นอนครับ เรื่องราวแทบทั้งหมดแต่ละตอนของหนังสือแฮร์รี่พอตเตอร์ ล้วนดำเนินไปในประเทศสหราชอาณาจักรเป็นหลัก (United Kingdom) ตลอดจนฉากต่างๆที่สร้างขึ้นใหม่ในภาพยนตร์ ล้วนได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจต่างๆ จากวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวอังกฤษจริงๆ และเรื่องราวของศาสตร์พ่อมดแม่มดต่างๆ ที่เคยมี(และยังคงมี)อยู่จริงในประเทศแถบยุโรปนี้ด้วย
แม้ว่าการถ่ายทำภาพยนตร์จะดำเนินกันภายในโรงถ่ายลีฟส์เด็น (Leavesden Studios) ที่สร้างขึ้นมาเฉพาะในเขตฮาร์ตเฟิร์ดเชียร์ (Hertfordshire) แต่ยังคงจำเป็นต้องใช้สถานที่จริงในการถ่ายทำหลายแห่ง ทั้งมหานครลอนดอน (London) เมืองอ๊อกซ์เฟิร์ด (Oxford) เมืองและปราสาทต่างๆ จากฝั่งสก็อตแลนด์ (Scotland) ฯลฯ
![]() |
ไพ่ทาโรต์ Wizards Tarot ไพ่ทาโรต์โรงเรียนเวทมนตร์ ที่ได้อิทธิพลจาก Harry Potter กล่าวถึงในบทความแนะนำไพ่ทาโรต์ วางจำหน่ายช่วงปีก่อน |
Diagon Alley in Real Life
แม้ว่าตรอกไดอะกอน (Diagon Alley) ในฉบับภาพยนตร์ของ Harry Potter ได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่แทบทั้งหมด แล้วจึงใช้คอมพิวเตอร์ตกแต่งบางส่วนที่เหลือ ประกอบการถ่ายทำนอกสถานที่บางส่วน ทว่าโครงสร้างอาคารต่างๆ ภายในตรอกไดอะกอน จากแนวคิดของคุณ เจ.เค.โรวลิ่ง และทีมออกแบบของภาพยนตร์ ย่อมไม่พ้นที่จะได้รับแรงบันดาลใจจากสถานที่จริงในอังกฤษ ซึ่งสถานที่นั้นก็คือ ตรอกเซซิลคอร์ท Cecil Court ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงลอนดอน นั่นเอง![]() |
ตรอกไดอะกอน (Diagon Alley) ในเรื่อง Harry Potter ฉบับภาพยนตร์ |
การเดินทางมายัง ตรอก Cecil Court
![]() |
ป้ายทางเข้าตรอก Cecil Court (คลิกภาพเพื่อขยาย) |
- ขึ้นรถไฟใต้ดิน (Underground Train หรือเรียกว่า Tube) มายังสถานีเลสเตอร์สแควร์ (Leicester Square)
- เดินเท้าต่ออีกนิดไปตามถนน Charing Cross ไปทางหอแสดงภาพศิลป์แห่งชาติ (National Gallery)
- สังเกตเห็นซอยเซซิลคอร์ท (Cecil Court) ได้ไม่ยากครับ
- ถ้ายังงงๆ เชิญคลิกชมแผนที่กูเกิ้ลด้านล่างบทความได้เลยครับ ;)
![]() |
บรรยากาศร้านรวงสองข้างทางของ Cecil Court พอจะได้อารมณ์คล้ายในภาพยนตร์ Harry Potter มั้ยครับ? |
![]() |
มัคคุเทศก์นำทัวร์แฮร์รี่พอตเตอร์ (Harry Potter Tours) บรรยายความสำคัญของตรอกเซซิลคอร์ต (Cecil Court) |
ภายในแผนที่กูเกิ้ล (Google Map) แสดงที่ตั้งของตรอกเซซิลคอร์ท (ระบุย่อว่า Cecil Ct)
เกร็ดเล็กน้อยของตรอกไดอะกอน (Harry Potter's Diagon Alley)
- Alley (อัลลี่ย์) แปลว่าตรอกซอกซอย ส่วน Diagon (ไดอะกอน) เป็นชื่อเฉพาะ ของตรอกดังกล่าวในเรื่อง ... ซึ่งในฉากหนึ่งของภาคแรก ที่ Harry ต้องเดินทางผ่านเตาผิง โดยใช้ผงฟลู (Floo Powder) แต่กลับหลงทางไปผิดที่ เนื่องจากพูดชื่อสถานที่เพี้ยนติดกันเป็นคำว่า Diagonally ที่แปลว่า แนวทะแยงมุม
- Leicester Square บริเวณจัตุรัสเลสเตอร์ จะมีโรงภาพยนตร์ตั้งอยู่รายรอบ และมักใช้เป็นสถานที่เปิดตัวภาพยนตร์ต่างๆ (ดักรอดูดาราฮอลลีวู้ดเดินพรมแดงกันได้ครับ :P ) และจัตุรัสเลสเตอร์ยังตั้งอยู่ไม่ไกลจากไชน่าทาวน์ China Town ย่านร้านอาหารจีนต่างๆ ซึ่งนับเป็นสถานที่ฝากท้องแหล่งใหญ่ และซื้อข้าวของเครื่องใช้ทั้งจีนและไทย ที่คนไทยไม่พลาดกัน
![]() |
อีกมุมหนึ่งของตรอกเซซิลคอร์ต กับทัวร์นักท่องเที่ยวอีกกลุ่ม |
- ศูนย์กลางลอนดอน (Centre of London) บริเวณใกล้กันยังเป็นที่ตั้งของ หอแสดงภาพศิลป์แห่งชาติ (National Gallery) จัตุรัสทราฟัลการ์ (Trafalgar Square) ที่มีเสาอนุสรณ์นายพลเนลสัน (Nelson's Column) ใกล้กับสถานีรถไฟชาริ่งครอส (Charing Cross) ที่นับเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงลอนดอน
- จึงเรียกได้ว่า ตรอกเซซิลคอร์ต (Cecil Court) หรือตรอกไดอะกอน (Diagon Alley) ของเราในที่นี้ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงลอนดอน และไม่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญต่างๆ เหล่านี้เลยนะครับ
- หากไม่นับตรอกเซซิลคอร์ต (Cecil Court) แล้วล่ะก็ ยังมีสถานที่ถ่ายทำฉากตรอกไดอะกอนในภาพยนตร์ Harry Potter นั้น ในกรุงลอนดอนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คือ ตลาดลีดเด้นฮอลล์ (Leadenhall Market)
- โรงถ่ายลีฟส์เด็น (Leavesden Studios) ด้วยพลังแห่ง Google ทำให้คุณสามารถเข้าไปเดินเล่นในตรอกไดอะกอน Diagon Alley ที่สร้างอยู่ภายในสตูดิโอลีฟส์เด็น ของวอร์เนอร์บราเธอร์ส (Warner Brothers) .. คุณสามารถใช้เม้าส์คลิกลากแผนที่ข้างล่าง เพื่อชมบรรยากาศภายในตรอกไดอะกอนได้เลยนะครับ
พาเที่ยวตรอกไดอะกอน (Diagon Alley) ซะเพลิน ผมยังไม่ได้พูดถึงร้านหนังสือศาสตร์เร้นลับและการพยากรณ์เลย งั้นช่วงหน้ามาต่อกันอีกนิดก่อนวันหยุดยาวนะครับ ;)
6 ความเห็น:
อ่านแล้ว นึกจินตนาการว่าตัวเอง เป็นแม่มดเดินฉวัดเฉวียนเข้าตรอกซอกซอย จับจ่ายซื้อหาอุปกรณ์เวทมนต์ต่างๆ แวะจิบน้ำชาอุ่น ๆ กับเพื่อนพ่อมด แม่มด พูดคุยสนทนากัน ร่าเริง สนุกสนาน มีความสุข ( อุ๊ย แอบฝันคร้าาา ;) ขอบคุณ ดรเซ่ มากๆๆๆ คะ ที่แบ่งปัน ขอให้พักผ่อนอย่างมีความสุข นะคะ รอติดตาม ความเคลื่อนไหวของ บล๊อค เสมอคร้าาาา
อ่านแล้วฝันเพ้อละเมอ อยากไปเดินเล่นจังคะ คุณครูใหญ่ขา
ว่างๆ ก็บินมาแวะวนเวียน ฉวัดเฉวียนแถวนี้ได้นะครับ
เสน่ห์มนต์ขลังของถนนสายนี้ ยังคงเต็มเปี่ยมไม่เสื่อมคลาย
ผมเองก็แวะมาบ่อยๆ และทุกครั้งเพียงแค่เดินผ่าน แวะชมตู้โชว์กิจกรรมร้านรวงรอบข้างต่างๆ ก็มีความสุขแล้วครับ :)
ปล. การอ่านบทความนี้ อย่าลืมเปิดด้วยโปรแกรม Internet Browser ที่รองรับไฟล์แฟลชด้วยนะครับ เพื่อจะได้ชมตรอกไดอะกอนได้เต็มตาครับ ;)
แวะเข้ามาครั้งใด ก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นทุกครั้ง บางอย่างคิดว่ารู้ดีแล้ว แต่มาตรงนี้ก็ได้รู้ลึก ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก ขอบคุณนะคะ แต่แหม สำนวน ดร.เซ่ อ่านแล้วเกิดกิเลสทุกครั้ง จากความรู้ไพ่ทาโรต์ ที่ทำให้ต้องสรรหามาครอบครอง แต่คราวนี้หนักไปนิด... อยากไปลอนดอน!!!!
สุรัชดา
งั้นถ้าได้อ่านบทความตอนต่อไป คงได้จองตั๋วบินมาทันทีล่ะครับ ;)
แสดงความคิดเห็น
1. โปรดระบุ "ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น" (กรณีไม่มีโปรไฟล์อื่น) ในเว็บ ดร.เซ่ ไพ่พยากรณ์ ด้วยการ
- เลือกโปรไฟล์ "ชื่อ/URL"
- กรอกชื่อหรือนามแฝงของผู้โพสต์ในช่อง "ชื่อ"
- กดปุ่ม "ดำเนินการต่อ" โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ระบุ URL เว็บไซต์ใดๆ
- ทั้งนี้เพียงเพื่อความสะดวกในการสนทนาเท่านั้น เช่น อาจระบุ นาย A, นาย B หรือ น.ส. ยิปซี ก็ได้ครับ :)
2. หากติดระบบกรองคำ โปรดกรอกข้อความ ให้ตรงตามคำกรองที่ปรากฏ
3. ความเห็นอาจไม่แสดงทันที เนื่องจากระบบป้องกันสแปมอัตโนมัติของบล็อกสปอต
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น